วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 5

26-พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            ออสเตรเลียเป็นทวีปเกือบสุดท้ายที่ชาวยุโรปเดินทางมาพบ ก่อนหน้านี้ชาวยุโรป ไม่ทราบว่ายังมีดินแดนทางตอนใต้ 
            เพียงแต่คาดว่าน่าจะมี ในสมัยกรีกโบราณ นักภูมิศาสตร์ชื่อ ปโตเลมี ได้เขียนแผนที่โลก โดยแสดงให้เห็นว่าทางตอนใต้ของทวีปแฟริกา 
            มีดินแดนเชื่อมต่อกับทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งปิดล้อม มหา สมุทรอินเดียไว้ และตั้งชื่อดินแดนส่วนนั้นว่า “แทร์รา อินคอกนิตา” Terra Incognita แปลว่า ดินแดนที่ยังไม่รู้จัก 
            ต่อมาในสมัยกลาง นักภูมิศาสตร์ก็ยังเชื่อว่าดินแดนทางใต้นี้มีอยู่ จึงปรากฏแผนที่หลายฉบับที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง ที่แสดงที่ตั้งของแผ่นดินขนาดใหญ่ทางตอนใต้ ของมหาสมุทรอินเดียแบบเดียวกับ ปโตเลมี แต่เรียกดินแดนนี้ว่า แทร์รา ออสตราลิส Terra Australis แปลว่า ดินแดนทางใต้ ซึ่งชื่อนี้กลายเป็นชื่อของทวีปและประเทศออสเตรเลีย ในปัจจุบัน

            การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปได้รับการบันทึกไว้ครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ.1606 เมื่อชาวนักสำรวจชาวฮอลันดา ชื่อ วิลเลม แจนสซูน Willem Janszoon ค.ศ.1571-1638 ทำแผนที่ชายฝั่งของแหลมเคปยอร์กและคาบสมุทรเพนินซูลา Cape York and Peninsula ของรัฐควีนสแลนด์ จากการค้นพบครั้งนั้น ทำให้เริ่มมีการทำแผนที่ชายฝั่งตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ต่อมา ในปี ค.ศ. 1642 นักเดินเรือ ชาวฮอลันดา ชื่อ อเบล แทสมัน ได้เดินเรือจากมหาสมุทรอินเดียอ้อมไปทางใต้ของออสเตรลีย จนพบเกาะ ซึ่งเขาเรียกชื่อว่า เกาะแวนดีเมน Van Diemen’s Land ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเกาะแทสมาเนียเพื่อเป็นเกียรติแก่ อเบล แทสมัน และเรียกดินแดนที่ค้นพบนี้ว่า “นิวฮอลแลนด์” New Holland แต่ขณะนั้นยังไม่มีความตั้งใจที่จะประกาศยึดครองดินแดนดังกล่าว ต่อมาในปีเดียวกัน นักสำรวจชาวสเปน ชื่อ หลุยส์ วาเอซ เดอ ทอเรส Luis Vaez de Torres ได้เดินเรือผ่านช่องแคบระหว่างออสเตรเลียและปาปัวนิวกินี จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ช่องแคบทอเรส”
            จากนั้นในปี ค.ศ.1688 วิลเลียม แดมเปียร์ William Dampier เป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษคนแรกที่เข้าไปตั้งถิ่นฐาน บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย โดยเขียนชื่อไว้บนสังกะสีตอกติดไว้บนต้นไม ้เพราะพบคนพื้นเมืองแสดงอาการเป็นศัตรูและสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งจึงไม่สนใจ ต่อมาในปี ค.ศ.1770 กัปตันเจมส์ คุก James Cook ชาวอังกฤษ ได้ล่องเรือมาสำรวจและได้จัดทำแผนที่ทางด้านชายฝั่งตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย เห็นสภาพภูมิอากาศคล้ายแคว้นเวลส์ของสหราชอาณาจักรจึงได้ตั้งชื่อดินแดนแถบนั้นว่า “นิวเซาท์เวลส์” New South Wales พร้อมกันนั้น ได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แล้วยึดครองออสเตรเลีย เป็นอาณานิคม
            สาเหตุที่รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจส่งนักโทษมาตั้งถิ่นฐานที่ออสเตรเลียเนื่องจาก อังกฤษได้สูญเสียอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ และต้องการระบายนักโทษที่แออัดอยู่ในคุกของประเทศอังกฤษ โดยกัปตันอาร์เธอร์ฟิลลิป Arthur Philip เป็นผู้ควบคุมนักโทษกลุ่มแรกได้เดินทางมาถึงอ่าวซิดนีย์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1788 และได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานถาวรบริเวณ อ่าว พอร์ต แจคสัน แล้วตั้งชื่อว่า ซิดนีย์ โคฟ ในวันที่ 26 มกราคม 1788 (ถือเป็นวันชาติออสเตรเลีย) นับเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐานในทวีปออสเตรเลียของชาวอังกฤษ

            ผู้ตั้งถิ่นฐานในยุคแรกส่วนใหญ่จะเป็นนักโทษและครอบครัวของทหารแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือ ผู้ที่ตั้งใจย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ซึ่งรวมถึงชนชาติอื่น ๆ อาทิ อิตาเลียน กรีกและชาวยุโรปชาติอื่น ๆ ตลอดจนชาวเอเชีย อาทิ จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยเริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกบริเวณอ่าวโบตานีเมืองซิดนีย์ ในปัจจุบัน
            ต่อมามีการค้นพบทองคำ ในปี ค.ศ. 1800 จัดว่าเป็นยุค “ตื่นทอง” GOLD RUSH ส่งผลให้ผู้ที่มิใช่นักโทษอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทวีปออสเตรเลียมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยกลุ่มคนที่มามีทั้งชาวอังกฤษ ไอร์แลนด์ เยอรมัน จีน นอกจากนี้ ยังมีชาวแอฟริกันอพยพเข้ามาและมีการนำ อูฐ เข้ามาด้วย เพื่อออกสำรวจในพื้นที่ภายในทวีป
            ปรากฏว่าช่วงระยะเวลา เพียง 10 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1853-1863 ประชากรในอาณานิคม วิตอเรีย เพิ่มขึ้นจาก 77,000 คน เป็น 540,000คน ผลของการตื่นทอง เป็นเหตุให้มีผู้คนอพยพเข้าไปในออสเตรเลียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะชาวจีน ได้เดินทางเข้าไปแสวงโชคหางานทำ ชาวอาณานิคมที่เป็นชาวผิวขาวเริ่มวิตกกังวลและตั้งข้อรังเกียจชาวจีนที่เข้ามาแย่งอาชีพ รัฐบาลของออสเตรเลีย จึงได้ใช้ นโยบายออสเตรเลียขาว White australian policy เพื่อจำกัดคนที่ไม่ใช่ผิวขาวเข้าเมือง โดยพาะชาวจีน
            การตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือ ชื่อที่เรียกในขณะนั้นคือ แวนไดเมนส์แลนด์ Van Diemen’s Land ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1825 แยกออกมาเป็นอีกรัฐหนึ่ง ชื่อ รัฐแทสเมเนีย ตามชื่อ นักเดินเรือ อเบลแจนซูน ทัสมัน Abel Janszoon Tasman
            นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1850 อุตสาหกรรมขนสัตว์ การขุดทอง การขาดแคลนแรงงาน แผ่นดินอันกว้างใหญ่สำหรับการเพาะปลูก การทำเหมืองแร่ และการค้าขาย ได้ทำให้ออสเตรเลียเป็นดินแดนแห่งโอกาส และเป็นแรงกระตุ้นให้คนจากพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกหลั่งไหลมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนออสเตรเลียเพิ่มจำนวนมากขึ้น
            ในปี ค.ศ.1829 สหราชอาณาจักรได้ประกาศยึดครองดินแดนทางฝั่งตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย และได้แยกดินแดนทางด้านตะวันตกออกจาก นิวเซาท์เวลส์ มาเป็นอีกหลายมลรัฐ ได้แก่ รัฐออสเตรเลียใต้ ในปี ค.ศ.1836 รัฐนี้เรียกว่าเป็น พื้นที่เสรี Free Province คือ เป็นรัฐที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรองรับนักโทษ Penal Colony รัฐวิคตอเรีย ในปี ค.ศ.1851 และรัฐควีนส์แลนด์ ในปี ค.ศ.1859 ในส่วนของเขตการปกครอง เทอร์ริทอรีเหนือNorthern Territory ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1911 โดยเป็นส่วนที่ตัดออกมาจากรัฐออสเตรเลียใต้
            ในปี ค.ศ.1848 นับเป็นปีแห่งการยุติการขนส่งนักโทษมายังทวีปออสเตรเลีย เนื่องจากมีการรณรงค์ยกเลิกมาตรการดังกล่าวโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน ประเทศออสเตรเลียจึงไม่ใช่ดินแดนอาณานิคมของนักโทษอีกต่อไป
            ก่อนที่ชนชาติยุโรปจะย้ายถิ่นฐานมาที่ทวีปออสเตรเลีย บนทวีปนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ ซึ่งจำนวนประชากรในขณะนั้นคาดว่าประมาณ 315,000 คน แต่วิถีชีวิตของชนพื้นเมืองเหล่านี้ถูกเปลี่ยนไปเมื่ออังกฤษเข้ามายึดครองและประกาศเป็นพื้นที่อาณานิคม ซึ่งต่อมาทำให้ชนพื้นเมืองมีจำนวนลดน้อยลง โดยในช่วงปี ค.ศ.1930 จำนวนประชากรลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรเริ่มแรก

            สรุปนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1788 มีชายหญิงประมาณ 160,000 คน ที่อพยพไปออสเตรเลียในฐานะเสมือนนักโทษ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ชนพื้นเมืองของออสเตรเลียได้เผชิญความยากลำบาก จากการรุกรานของผู้อพยพที่อ้างสิทธิในฐานะเจ้าอาณานิคม มีการขับไล่ออกจากพื้นที่ และการเข้ายึดทรัพย์ ในขณะเดียวกัน ชนพื้นเมืองต้องอยู่อย่างลำบาก เจ็บไข้ได้ป่วยและการเสียชีวิต ตลอดจนวิถีชีวิตดั้งเดิมและธรรมเนียมปฏิบัติถูกทำลาย
            ใน ค.ศ. 1914 ออสเตรเลียได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศออสเตรเลียเป็นอย่างมาก ผู้ชายออสเตรเลียเกือบ 3 ล้านคน และอาสาสมัครเกือบ 400,000 คนต้องเข้าร่วมรบในสงคราม ผลจากสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 60,000 คนและได้รับบาดเจ็บหลายหมื่นคน
            ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของออสเตรเลียมีส่วนสนับสนุนครั้งสำคัญในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับยุโรป เอเชียและภาคพื้นแปซิฟิก ได้เข้าสู้รบในสงครามและได้รับชัยชนะอย่างน่าภาคภูมิใจ
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาระหว่างสงครามโลก เป็นเวลาที่ประเทศไร้เสถียรภาพ เศรษฐกิจตกต่ำ และสถาบันทางการเงินของออสเตรเลียหลายแห่งล้ม
            ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือหลังจากปี ค.ศ.1945 ออสเตรเลียได้เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรือง กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งและเกิดความต้องการแรงงานอย่างมาก ผู้หญิงจำนวนมากเข้าไปทำงานในโรงงาน ขณะที่ผู้ชายที่กลับจากการออกรบในสงครามสามารถเข้ามาทำงานต่อได้
            ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรเลียมีนโยบายที่ไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติในระดับสากลและที่นี่จึงเป็นบ้านสำหรับประชาชนที่มาจากกว่า 200 ประเทศ
            ในช่วงทศวรรษ 1950 เศรษฐกิจออสเตรเลียพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ระดับชาติ เช่น Snowy Mountains Scheme ซึ่งเป็นแผนกำลังไฟฟ้าพลังน้ำ ตั้งอยู่ในภูเขาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย รวมถึงชานเมืองออสเตรเลียก็เริ่มมีความเจริญแผ่ไปถึง ทำให้อัตราผู้เป็นเจ้าของบ้านเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 40 ในปี ค.ศ.1947 เป็นร้อยละ 70 ในทศวรรษ 1960
            การพัฒนาอื่น ๆ รวมถึงการรักษาความปลอดภัยทางสังคมของรัฐบาลและการเริ่มเผยแพร่สัญญาณโทรทัศน์ และในปี ค.ศ.1956 เมืองเมลเบิร์นได้เป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิก ทำให้ออสเตรเลียได้ส่องแสงประกายไปในระดับนานาชาติช่วงทศวรรษ 1960 เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของออสเตรเลีย โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1967 ชาวออสเตรเลียได้ลงประชามติระดับชาติ โดยมีคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นให้รัฐบาลแห่งชาติมีอำนาจผ่านกฎหมายที่ทำในนามของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาเงื่อนไขความเป็นอยู่ของชาวอะบอริจินและชาวเกาะทอเรส สเตรท ซึ่งในปัจจุบันจำนวนชนพื้นเมืองมีอยู่มากกว่าร้อยละ 2 ของประชากรทั้งประเทศ
            นอกจากนี้ รัฐบาลออสเตรเลียได้ดำเนินบทบาทที่สำคัญ โดยการพยายามสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองและที่มิใช่ชนพื้นเมือง การดำเนินการที่สำคัญ คือ การออกมากล่าวขอโทษอย่างเป็นทางการของรัฐบาลเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ในกรณีที่มีการแยกเด็กชาวพื้นเมืองออกจากครอบครัวดั้งเดิมเพื่อต้องการลบล้างวัฒนธรรม
ประเทศออสเตรเลียในปัจจุบัน นับเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมที่จะเจริญต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่2

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

        ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

        ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

        ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

        ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐานการตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

        ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

        ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน

            "ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น
        
        อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ... โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ... พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)

        อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)

        ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึงคำว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."

สัปดาห์ วิธีการทางประวัติ

วิธีการทางประวัติศาสตร์

        คือกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

        การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

  1. การรวบรวมหลักฐาน
  2. การคัดเลือกหลักฐาน
  3. การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  4. การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  5. การนำเสนอข้อเท็จจริง
        นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้

        วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
        นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป

        วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม